ทำระเบิดควันแนวการ์ตูนด้วย Particular

ติดค้างกันไว้นานสำหรับติวเตอร์นี้ วันนี้พอมีเวลา (อู้งาน) ก็เลยมาเขียนเสียหน่อย ใครจะหัดทำก็ควรมีพื้นฐาน Particular ซักนิ๊ดดดนึง

จะได้รู้ว่าค่าไหนปรับไปเพื่ออะไรเนาะ และนี่คือตัวอย่างงานที่เราจะทำกันในวันนี้จ้า

exam-boom

 

เริ่มแรกเลยก็สร้าง Comp ขึ้นมาความยาวพอประมาณแล้วแต่เลยจ่ะ แล้วจากนั้นก็ให้เราสร้าง Solid ขึ้นมาอันนึง เอาเป็นสีๆนะ จะได้เห็นง่ายๆ อย่าเอาสีดำ หรือขาวล่ะ -.-

boom-01

 

 

ต่อมาก็สร้าง Adjustment Layer หรือ Solid มาอีกอัน แล้วแต่สะดวกเลย เพื่อเอามาใส่ effect Particular เลื่อนๆดูก็จะได้ดังรูปนะจ้ะ

boom-02

 

 

มาถึงขั้นตอนสำคัญคือการปรับตั้งค่า Particular ให้เป็นไปตามเราต้องการ ตามรูปเลย แล้วเดี๋ยวมาอธิบายทีละกันกันแบบสั้นๆ

boom-03

Particles/sec  เป็นจำนวนของเม็ด Particle ที่พ่นออกมาในต่อ 1 วินาที

Velocity คือความเร็วของParticle ผมปรับเลขเยอะหน่อย เพื่อให้วิ่งเร๋็วๆจะได้เหมือนระเบิด ตู๊มม

Life คือระยะเวลาชีวิตของ Particleตั้งแต่เกิด จนหายไป แล้วปรับค่า Random นิดหน่อยเพื่อให้มีการสุ่มค่าที่ไม่เท่ากัน

Particle Type เป็น Cloudlet จะคล้ายๆก้อนเมฆ แทนที่จะเป็นกลมๆ ปรับ Feather ให้เป็น 0 เพื่อให้ขอบของ Particle จะคมๆหน่อยไม่ฟุ้ง

Size / Opacity เป็นการปรับขนาดและความโปร่งแสงของ Particle ก็ปรับกราฟตามรูปเลย กดตัวสำเร็จรูปด้านขวาก็ได้นะ จะได้ช่วยให้ Particle เกิดและหายไปเป็นธรรมชาติมากขึ้น

การปรับค่าทั้งหมดก็มีเพียงเท่านี้แหละครับ ซึ่งถ้าลองเล่นดูแล้วยังไม่พอใจกับรูปร่างก็สามารถปรับที่ Random seed ได้ด้วย

ถ้าตั้งค่าถูกเราก็จะได้แบบนี้จ้า

boom-04

 

 

จากนั้นเราจะเติมขอบให้เป็นสำดำๆเหมือนการ์ตูนหน่อยนะ วิธีก็ง่ายแสนง่ายที่หลายๆคนอาจจะคิดไม่ถึง ก็คือการใช้ Layer style โดยใส่ stroke เข้าไปนั่นเอง ตามรูปเลย

boom-05

boom-06

 

 

จากนั้นเราก็มาใส่ Keyframe เพื่อให้ควันระเบิดหายไปซักนิด ที่เฟรมแรกเรา set Particles/sec ไว้ที่ 400 แล้วเลื่อนมาสัก 2-3 เฟรม แล้วปรับเป็น 0 ซะ

boom-07

 

เพียงเท่านี้เราก็จะได้ควันระเบิดมาใช้อย่างง่ายดาย วิธีนี้หลายๆคนน่าจะเอาไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายนะครับ หวังว่าจะมีประโยชน์ สวัสดี 😀