หายหน้าหายตาไปซะนาน ขี้เกียจบ้าง งาน(นอก)เยอะบ้าง วันนี้ฤกษ์งามยามดีเลยขออัพซะหน่อย
เรื่องที่ดองไว้นานเลยก็คือ 3D Layer นั่นเอง ไม่รู้ลืมกันไปหมดหรือยัง ถ้าลืมแล้วก็อ่านย้อนความได้ที่นี่นะคร้าบ
ส่วนครั้งนี้จะมาแนะนำวิธีการและเทคนิคเล็กน้อย แต่สามารถเอาไปใช้งานได้มากมายเลยล่ะครับ
นั่นก็คือการใช้ Null Object ควบคุมกล้อง และการใช้ Depth of field นั่นเอง ว่าแล้วก็มาลุยกันเลยดีกว่า
และนี่เป็นตัวอย่างที่ทำเอาไว้ให้ดูในครั้งนี้
เริ่มแรกเลย ในตัวอย่างผมได้ทำการสร้าง Text Layer ขึ้นมาสามชิ้น ปรับให้เป็น 3D Layer และสร้าง BG ขึ้นมาอันนึง
แล้วแต่เลยว่าจะเอารูปมาใช้ หรือสร้าง solid แล้วใช้ ramp ก็ได้ตามสะดวกเลยจ้า อันนี้ผมไม่ทำเป็น3D เพราะไม่อยากให้มันขยับ
เสร็จแล้วก็จัดเรียงตำแหน่งของ text แต่ละอัน ให้อยู่ใกล้ ไกล ต่างกันออกไป (Z position)
มีตกแต่งใส่เงาหลอกๆ เล็กน้อยให้ดูมีมิตินิดหน่อย พอเสร็จแล้วก็สร้างกล้องขึ้นมาอันนึง
แต่คราวนี้เราจะไม่ยุ่งอะไรกับกล้องเลย เราจะสร้างขึ้นมาเผื่อให้ไปผูกกับ Null Object ที่เราจะใช้งานเท่านั้น
เสร็จแล้วให้เราสร้าง Null Object ขึ้นมา ไปที่ Layer > New > Null Object หรือจะคลิกขวาตรงที่ว่างๆก็ได้เหมือนกัน
แล้ว Null Object คืออะไร อธิบายมาจนถึงตรงนี้แล้วขอพูดถึงซักหน่อยก่อนก็แล้วกัน
Null แปลตรงๆก็คือค่าว่าง ความว่างเปล่านั่นเอง Null Object จึงเป็น Layer หรือวัตถุที่ไร้ตัวตน สร้างขึ้นมา render ออกไปก็ไม่ติด
งั้นอ้าว! แล้วมันมีประโยชน์อะไรล่ะ มันมีประโยชน์ในการที่มันไม่สามารถติดออกไปกับชิ้นงานนี่ล่ะ เราจึงมักนำมันมาใช้งาน
ในการผูกติดกับวัตถุต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม ไม่ว่าจะเป็นการ Tracking หรือการขยับมุมกล้องที่กำลังทำอยู่ตอนนี้
โดยการทำ Parent กับสิ่งที่เราต้องการ
ทีนี้พอสร้างมาแล้ว เราจะเห็นกรอบสี่เหลี่ยม สีแดงๆ อยู่ตรงกลางจอเลย ไม่ต้องตกใจ
โปรแกรมของเราไมไ่ด้ error หรืออะไรทั้งนั้น นั่นล่ะคือ Null Object ที่ว่า โดยที่เราสามารถจับมันขยับ เคลื่อนที่ได้
เหมือนวัตถุอื่นๆทุกอย่าง เพียงแต่ว่ามันจะไม่ถูก render ติดออกมาเท่านั้นเอง
ลองดูค่า properties ก็เหมือนเลเยอร์อื่นๆ ทั่วๆ ไปเลยล่ะ
จากนั้นเราก็ปรับมันให้เป็น 3D Layer ซะ แล้วจัดการ Parent กล้องเข้ากับเจ้า Null Object นี่ซะเลย
เพียงเท่านี้ก็เสร็จแล้วล่ะครับ ลองanimate เล่นๆ ดูกันได้เลย
บางคนอาจจะสงสัยว่ามันต่างกับขยับกล้องยังไงล่ะเนี่ย จริงๆมันก็มีส่วนต่างครับ คือ Null Object มันมาเป็น object ให้เราเห็น
เราสามารถลาก ขยับมันได้อิสระ ขณะที่กล้องเราไม่สามารถทำแบบนี้ได้ และอีกอย่างหนึ่งก็คือ แกนการหมุนกล้องจะคนละแนวกัน
ก็ลองเล่น ลองใช้กันดูนะคร้าบ
ทีนี้มาดูการใช้ Depth of Filed กันบ้าง
จากตัวที่เสร็จแล้วจะเห็นว่า ทำไมตัวอักษรข้างหลังมันเบลอล่ะ ดูมีมิติ ใช้ Effect Blur หรือเปล่า
คือไมไ่ด้ใช้ครับ แต่เล่นกับ Depth of Filed ซึ่งค่านี้จะอยู่ใน Camera Options ลองเปิดขึ้นมาดู เดี๋ยวจะอธิบายไปทีละค่า
Zoom ก็คือระยะการซูมของกล้อง องศารับภาพ ตรงนี้ถ้าใครไม่เข้าใจก็ข้ามๆไปได้นะครับ
Depth of Filed ตัวนี้เป็นตัวกำหนดว่าเราจะปิด หรือ เปิดใช้งาน
Focus Distance เป็นระยะโฟกัสวัตถุ วันตุที่อยู่นอกระยะก็จะเบลอไปนั่นเอง
Aperture ใครถ่ายรูปจะรู้จักค่านี้ดี เป็นค่ารูรับแสงของกล้อง ซึ่งการเบลอว่ามาหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับค่านี้ด้วย
Blur Level เป็นตัวกำหนดความเบลออีกชั้น แบบว่าอยากให้มันเบลอมากกว่าที่ตั้งไว้เท่าตัวก็ปรับไป 200% ได้เลย
รูปบน แสดงระยะโฟกัสให้เห็นนะจ๊ะ ส่วนรูปล่างจะเห็นว่าวัตถุที่อยู่นอกระยะจะเบลอโลด
แฮร่ จบแล้ว รู้สึกผิดที่ห่างหายไปนาน หวังว่าตอนนี้น่าจะทำให้ได้ความรู้กับบ้างนะ แล้วจะหมั่นขยันอัพ content ให้มากกว่านี้จ้าา
T___T